World GDP (Latest update 20/06/2024)
GDP ในปี 2023 นั้นเติบโตอยู่ที่ 3.2% โดยแบ่งเป็น GDP ของประเทศที่พัฒนาแล้ว (Advanced economies) เติบโตอยู่ที่ 1.6% และประเทศที่กำลังพัฒนา (Emerging market and developing economies) เติบโตอยู่ที่ 4.3% ดังภาพที่แสดงด้านล่างน
Source: WEO
อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจขยายตัวช้า เนื่องจากต้นทุนการกู้ยืมที่ยังคงสูง
Covid-19 ยังคงมีผลกระทบต่อระบบเศรฐกิจทั่วโลกในระยะยาว ส่งผลให้ GDP เติบโตช้า
เศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วจะเติบโตอย่างช้า ๆ ในขณะที่ประเทศที่กำลังพัฒนามีอัตราการเติบโตที่สูงกว่า
ปัญหาการรุกราน Ukraine ของ Russia ทำให้อัตราการเติบโตของ productivity ต่ำ
Global Inflation Rate (Latest update 20/06/2024)
อัตราเงินเฟ้อของโลก ณ ปี 2023 คือ 6.78% มีอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงเมื่อเทียบกับปี 2022 อยู่ที่ 1.95% ดังภาพที่แสดงข้างล่างนี้
Source: Statista
ตราเงินเฟ้อคาดว่าจะลดลงจาก 6.78% เป็น 5.9% ในปี 2024 และ 4.5% ในปี 2025
ประเทศที่พัฒนาแล้ว (Advance Economies) ต้องการคุมอัตราเงินเฟ้อให้ลดลงไปตามเป้าหมายที่วางไว
การคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในอีก 5 ปีข้างหน้า อยู่ที่ 4.21%
North America (NA)(Latest update 08/07/2024)
United States (US)
อัตราการเติบโต GDP ของ US. (YoY) ในปี 2023 อยู่ที่ 6.27% ดังภาพที่แสดงข้างล่างนี้
Source: Statista
อัตราการเติบโตเฉลี่ย GDP ของสหรัฐในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 4.92% ต่อปี (ดังข้อมูลที่แสดงข้างบน)
คาดการณ์อัตราการเติบโต real GDP ในปี 2024 ที่ระดับ 1.5% และอัตราเงินเฟ้อในระดับใกล้เคียง 3.00% ก่อนที่เงินเฟ้อจะกลับเข้าสู่เป้าหมาย 2.00% ในระยะถัดไป
เศรษฐกิจสหรัฐเสี่ยงเผชิญกับปัญหาการเติบโตของเศรษฐกิจที่ช้าลงหากเทียบกับปีก่อนหน้า
อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับที่น่ากังวล ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีแนวโน้มที่จะลดลงแล้วก็ตาม
การใช้จ่ายของผู้บริโภคอาจมีการเติบโตที่ลดลง
ถึงแม้ว่าอัตราว่างงานจะอยู่ในระดับที่ไม่น่ากังวลที่ 4.1% แต่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นชัดเจน
US
Inflation
เงินเฟ้อสหรัฐนั้นน่ากังวลแค่ไหน
Source : FRED, Federal Reserve Bank of Cleveland
หากเราเริ่มต้นด้วยความคาดหวังของเงินเฟ้อในอีก 1 ปีข้างหน้า เราจะเห็นได้ว่าความคาดหวังดังกล่าวอยู่ที่ระดับ 2.72% โดยอาจสามารถตีความได้ว่าอยู่ในกรอบเงินเฟ้อเป้าหมายแล้วที่ 2%
Source : FRED, Federal Reserve Bank of Cleveland
โดยอัตราดอกเบี้ยนโยบายแท้จริงเองก็บ่งบอกทิศทางไปในทางเดียวกันที่ 2.26% ซึ่งถือเป็นระดับที่รัดกุมหากเทียบกันกับนโยบายทางการเงินแท้จริงที่ติดลบในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
Source : FRED, Federal Reserve Bank of Cleveland
ซึ่งความคาดหวังเงินเฟ้อระยะกลาง 2ปี 3ปี และ 5ปี เองก็สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน
Source : FRED, Federal Reserve Bank of Cleveland
ความคาดหวังเงินเฟ้อในอีก 5 ปีข้างหน้าหลังจากผ่านปีที่ 5 เองก็อยู่ในระดับที่ควบคุมได้
Source : FRED, Federal Reserve Bank of Cleveland
จึงทำให้ความคาดหวังเงินเฟ้อในระยะยาว 7 ปีและ 10 ปีอยู่ในระดับใกล้เคียง โดยสมมุติฐานเงินเฟ้อจะอยู่ในกรอบเป้าหมาย 2% ในระยะยาว
US
Bonds
ตัวเลขความคาดหวังทางเศรษฐศาสตร์ทั้งหมดเป็นตัวบ่งชี้นำหรือ leading indicator อะไรได้บ้างต่อตลาดพันธบัตร
Source : FRED, Federal Reserve Bank of Cleveland
ยีลด์พันธบัตรแท้จริงอายุ 10 ปีของสหรัฐปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 2.09%(ณ วันที่08/07/2024)
Source : GDPNow
โดย breakeven inflation rate อยู่ที่ระดับ 2.28%
โดยปัจจุบันยีลด์พันธบัตรสหรัฐอยู่ที่ระดับ 4.278%หากเราใส่สมมุติฐานและคาดการณ์การเติบโตระยะยาวของสหรัฐที่ 2.00% และเงินเฟ้อระยะยาวที่ 2.5% โดยใช้ข้อมูลอ้างอิงทั้งหมดจากราคาพันธบัตรในปัจจุบัน, ข้อมูลจาก Fred และรวมถึงการคาดการณ์จากข้างต้นโดยมีน้ำหนักความเป็นไปได้ที่ 30%พันธบัตรอายุ 10 ปีของสหรัฐจะมียีลด์ที่เหมาะสมที่ 4.41%03 กรกฎาคม GDPNow ได้ให้คาดการณ์อัตราการเติบโตแท้จริง real GDP ของสหรัฐอเมริกาที่ 1.5%
Source : CME group, FedWatch tool
โดยหากเรา annualize ตัวเลขดังกล่าวไปอีก 12 เดือนข้างหน้าและใช้ตัวเลขความคาดหวังเงินเฟ้อ FRED ในอีก 1 ปีข้างหน้าที่ 2.72% เศษรฐกิจของสหรัฐจะมีการเติบโตในรูปแบบ nominal growth rate ที่ 4.26%
FedWatch Tool เครื่องมือที่ผู้มีส่วนร่วมกับตลาดต่างใช้เป็นหนึ่งในเครื่องมือในการคาดการณ์นโยบายทางการเงินของ Fed เองนั้นได้คาดการณ์อัตรานโยบายทางการเงินของ Fed ในการประชุมเดือนกรกฎาคม ปี 2025 ที่ระดับ 4.00%-4.25%
Source : FRED, Federal Reserve Bank of Cleveland
พันธบัตรที่เชื่อว่าเป็นตัวชี้นำ Fed เกี่ยวกับนโยบายทางการเงินอย่างพันธบัตรอายุ 2 ปี 2y treasury เองก็ถูกเทรดในตลาดที่ระดับยีลด์ 4.61%
Source : FRED, Federal Reserve Bank of Cleveland
แต่อัตราดอกเบี้ยทางการเงินของ Fed ในปัจจุบันนั้นอยู่ในระดับที่สูง 5.25%-5.50% หรือคิดเป็นค่ากลางที่ระดับ 5.33%
Source : FRED, Federal Reserve Bank of Cleveland, CME
ซึ่งหากเรามองถึงศักยภาพในการเติบโตของเศรษฐกิจของสหรัฐในระยะยาวผนวกกับความคาดหวังของเงินเฟ้อและมุมมองจากตลาดในหลายดัชนีที่ได้กล่าวถึงข้างต้น
Fed จึงอาจมีความเสี่ยงที่จะต้องลดอัตราดอกเบี้ยลงที่ระดับ 5.25%-5.50% ในปัจจุบันสู่ระดับ 4.25%-4.50% หรืออย่างน้อย 4 ครั้งในอีก 9 การประชุม FOMC ข้างหน้า
European Union (EU)
EU GDP
ในปี 2023 อัตราการเติบโต GDP ในสหภาพยุโรป Euro 20 อยู่ที่ระดับ 6.45% YoY ซึ่งถือเป็นอัตราการเติบโตที่อยู่เหนือ trendline ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
Source: ECB, ECB data portal
โดยอัตราเงินเฟ้อเองก็อยู่ในระดับที่สูงใกล้เคียงกันที่ 5.40% ในปี 2023
Source: ECB, ECB data portal
โดยหากปราศจากเงินเฟ้อแล้ว ขนาดเศรษฐกิจของสหภาพยูโรป euro 20 และอัตราเติบโตจะอยู่ที่ระดับราว 0.46% และถือเป็นการเติบโตไม่มากนักหากเปรียบเทียบกันกับศักยภาพในการเติบโต trendline ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
Source: ECB, ECB data portal
โดยอัตราแลกเปลี่ยนระหว่าง USD/EUR เองก็มีแนวโน้มแกว่งตัวในกรอบ โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 1.08 ในช่วงปี 2023
Source: ECB, ECB data portal
ซึ่งตัวเลขดังกล่าวถือเป็นกรอบสำคัญ โดยจากข้อมูล ณ วันที่ 07 กรกฎาคม 2024 นั้นค่าเงิน USD/EUR เองยังคงแกว่งตัวในกรอบ 1.08
Source: ECB, ECB data portal
ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าวไม่ได้ส่งผลลบต่อภาพรวมเศรษฐกิจ โดยขนาดเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปยังคงเติบโตทั้งในรูปแบบสกุลเงินท้องถิ่นหรือยูโรและสกุลเงินดอลลาห์สหรัฐ
Source: ECB, ECB data portal, ArtificialButler
โดยจากตัวเลขการรายงานเงินเฟ้อรายเดือนล่าสุดของ ECB อัตราเงินเฟ้อได้อยู่ในกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ 2% แล้วที่ 2.5%
Source: ECB, ECB data portal
โดยหากนำตัวเลขการรายงานการเติบโตของ GDP ในไตรมาสล่าสุดที่ 0.4% ให้เป็นรายปี และใช้ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อข้างต้น อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจในสหภาพยุโรปในรูปแบบ nominal จึงมีแนวโน้มที่จะเติบโตอยู่ที่ 2.9%
อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในปัจจุบันของ ECB อยู่ที่ระดับ 4.25% โดยถูกปรับลดลง 0.25% ในการประชุมเดือนมิถุนายน 2024
หากวางสมมุติฐานศักยภาพการเติบโตและอัตราการเติบโตที่แท้จริงในระยะยาวของสหภาพยุโรปที่ 0.25% และใช้ยีลด์เฉลี่ยของพันธบัตรรัฐบาลในสหภาพยุโรปเป็นหนึ่งในเครื่องมืออ้างอิงโดยเชื่อว่าตัวเลขยีลด์ดังกล่าวจะถือเป็นตัวแทนของอัตราการเติบโตเชิง nominal และศักยภาพในระยะยาวของเศรษฐกิจที่น้ำหนัก 50% ยีลด์พันธบัตรระยะยาวเฉลี่ยในกลุ่มประเทศของสหภาพยุโรปจะอยู่ที่ระดับ 3.83% โดย ECB จะมีความเสี่ยงที่จะต้องลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงอย่างต่อเนื่องในระยะถัดไป
UK
Inflation
(Latest update 09/07/2024)
Source : Statista
เงินเฟ้อถือเป็นปัญหาหลักของสหราชอาณาจักร โดยมีเงินเฟ้อเติบโตถึง 9.07% ในปี 2022 ก่อนที่จะชะลอตัวลงเข้าสู่ระดับ 7.31% ในปี 2023
Source : UK national statistics
โดยหากวัดเป็นรายไตรมาสแล้วนั้น อัตราเงินเฟ้อในไตรมาสที่ 1 ของสหราชอาณาจักรอยู่ที่ 3.9% และ 2.8% ในการรายงานตัวเลขเงินเฟ้อในเดือนพฤษภาคม ซึ่งถือเป็นแนวโน้มเงินเฟ้อที่ลดอย่างต่อเนื่อง
BoE เองก็มีเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2% เช่นเดียวกันกับหลายธนาคารกลาง
UK
real GDP
Source: UK national statistics
หากวัดการเติบโตของ GDP ในรูปแบบของ real GDP ที่ปราศจากเงินเฟ้อแล้วนั้น ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรจะมีการเติบโตขึ้นอย่างชัดเจนนับจากช่วงที่ได้รับผลกระทบโควิดในปี 2020 และเติบโตขึ้นเป็นรูปแบบ V-shape ก็ตาม แต่การเติบโตดังกล่าวก็ได้ชะงักลงและถือเป็นการเติบโตที่ไม่มากนักหากเทียบกันกับช่วงเวลาก่อนเกิดวิกฤษโควิดในปี 2019
โดยขนาดของเศรษฐกิจในปี 2023 นั้นเติบโตขึ้นเพียง 1.75% เมื่อเทียบกับขนาดของเศรษฐกิจในปี 2019
ถึงแม้ว่าเงินเฟ้อเองจะมีแนวโน้มที่ลดลงอย่างต่อเนื่องและเข้าใกล้ระดับเป้าหมาย 2% แต่เงินเฟ้อดังกล่าวก็ถือเป็นตัวเลขที่สูงหากเทียบกับการเติบโตที่ช้าของเศรษฐกิจ
GBP / USD
Source: BoE
โดยอัตราแลกเปลี่ยนระหว่าง GBP/USD อยู่ที่ระดับ 1.27 ดอลลาห์สหรัฐต่อปอนด์สเตอร์ลิง ณ สิ้นปี 2023 และถือเป็นการแข็งค่าขึ้น 5.35% เมื่อเทียบกับช่วงต้นป
ตลอดช่วงปี 2023 GBP/USD มีค่าเฉลี่ยของกรอบค่าเงินที่ 1.2434
ถึงแม้ว่าเงินเฟ้อเองจะมีแนวโน้มที่ลดลงอย่างต่อเนื่องและเข้าใกล้ระดับเป้าหมาย 2% แต่เงินเฟ้อดังกล่าวก็ถือเป็นตัวเลขที่สูงหากเทียบกับการเติบโตที่ช้าของเศรษฐกิจ
UK
GDP (in USD)
การแข็งค่าขึ้นของค่าเงินปอนด์ในปี 2023 ทำอัตราการเติบโต nominal GDP ของเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรในรูปแบบสกุลเงินดอลลาห์สหรัฐในปี 2023 ถึง 7.877% เมื่อเทียบกับปี 2022
Source: Statista
อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรทั้งในรูปแบบ real GDP และค่าเงินสกุลดอลลาห์สหรัฐนั้นไม่ต่อเนื่องและมีปัญหาอย่างชัดเจน
เศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรในปี 2024 มีแนวโน้มที่คาดว่าจะเติบโตในอัตราที่ต่ำ
อัตราเงินเฟ้อยังคงเป็นเรื่องที่น่ากังวลโดยแม้ว่าตัวเลขดังกล่าวจะมีการปรับตัวลดลงก็ตาม เนื่องจากศัักยภาพในการเติบโตของเศรษฐกิจที่ค่อนข้างท้าทาย
เศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรได้เข้าสู่ techical recession แล้วในไตรมาสที่ 3 และ 4 ในปี 2023 เนื่องจากการติดลบต่อเนื่องกัน 2 ไตรมาสของ GDP ที่ -0.1% และ -0.3% ตามลำดับ
อัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางอังกฤษอยู่ในระดับที่สูงถึง 5.25% และปัญหาเงินเฟ้อที่ส่งสัญญาณชัดเจนถึงการปรับตัวที่ลดลงอย่างต่อเนื่องจึงทำให้ธนาคารกลางอังกฤษสามารถลดอัตราดอกเบี้ยลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในขณะที่ไม่ส่งผลตามมาของเงินเฟ้อ
ยีลด์พันธบัตรรัฐบาลที่ระดับ 4.16%(ณ วันที่ 10 กรกฎาคม) ถือเป็นยีลด์ในระดับที่เหมาะสมและดึงดูดมากพอที่การลดอัตราดอกเบี้ยของ BoE อาจไม่ส่งผลกระทบหรือส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อสเภียรภาพของค่าเงินปอนด์
Source: World Bank
เศษรฐกิจของสหราชอาณาจักรเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ช่วงวิกฤษโควิด-19
หากนับเศรษฐกิจในปีที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจมากที่สุดอย่างปี 2020 เป็นฐาน อัตราการเติบโตทางเศษรฐกิจของสหราชอาณาจักรจะอยู่ที่ 8.6% ต่อปี และเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง
Asia (Latest update 09/07/2024)
Japan GDP
Source: World Bank
อัตราการเติบโต nominal GDP ของเศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่นในปี 2023 อยู่ที่ระดับ 5.71% และอัตราเติบโต GDP เฉลี่ย 5 ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 1.19% ต่อปี
ในปี 2024 เศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยสาเหตุหลักมาจากอัตราค่าจ้างหรือค่าแรงที่เติบโตขึ้น ค่าเงินสกุลเยนที่อ่อนค่าลงซึ่งส่งผลต่อการลงทุนของต่างชาติและการท่องเที่ยวผนวกกับการใช้จ่ายในโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล
ประเทศญี่ปุ่นกำลังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน สืบเนื่องมาจากปัญหาสังคมสูงอายุ ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงหลักที่อาจส่งผลต่อศักยภาพในการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาวได
จากสรุปรายงานการประชุมของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น BoJ มีแนวโน้มที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยหากมุมมองหรือ outlook ที่ได้นำเสนอไปในเดือนเมษายนที่ผ่านมายังคงเป็นจริง โดยกล่าวว่าเงินเฟ้อจะยังคงเพิ่มสูงขึ้น และธนาคคารกลางจะปรับเปลี่ยนนโยบายทางการเงินเพื่อให้สอดคล้องกับปัญหาดังกล่าว
Exchange rates
Source: Refinitiv
ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยนับตั้งแต่ปี 2019-2023 ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงเฉลี่ยปีละ 5.37% ต่อปี
โดยในปี 2023 ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงต่อเนื่อง โดยหากเทียบกับปี 2022 ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงถึง 7.59%
การอ่อนค่าลงของเงินเยนได้เพิ่มโอกาศในการปรับเพิ่มประมาณการของ outlook ต่อเงินเฟ้อ และค่ากลางของอัตราดอกเบี้ยนโยบายเองจึงมีความเสี่ยงที่จะต้องปรับเพิ่มขึ้นเพื่อเป็นการสะท้อนถึงปัญหาเงินเฟ้อและราคาสินค้า
ค่าเงินที่อ่อนลงอย่างต่อเนื่องผนวกกับปัญหาราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยหนุนให้เกิดวงจร virtuous cycle ต่อปัญหาค่าจ้างที่บริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กอาจจำเป็นที่จะต้องขึ้นค่าจ้างของพนักงานแล้วจึงส่งผ่านต้นทุนดังกล่าวไปยังราคาสินค้า
JP GDP (USD)
Source: Refinitiv
โดยถึงแม้ว่าขนาดของเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะยังคงเติบโตหากคิดเป็นการเติบโตในรูปแบบของสกุลเงินท้องถิ่น แต่เนื่องจากสาเหตุของการอ่อนค่าลงของค่าเงินเยน เศรษฐกิจญี่ปุ่นจึงมีขนาดที่เล็กลงเมื่อคิดเป็นสกุลเงินดอลลาห์สหรัฐ
อัตราการเติบโต GDP ของเศรษฐกิจญี่ปุ่นในรูปของค่าเงินสกุลดอลลาห์สหรัฐอยู่ที่ -1.03% YoY ในปี 2023
อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาในรูปของค่าเงินสกุลดอลลาห์สหรัฐอยู่ที่ -4.75% ต่อปี
อัตราแลกเปลี่ยนส่งผลกระทบเชิงกว้างต่อเศรษฐกิจ และการอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องของค่าเงินเยนไม่เพียงแต่จะส่งผลอย่างมีนัยยะสำคัญต่อเงินเฟ้อ แต่อาจทำให้ BoJ ต้องปรับนโยบายทางการเงิน อาธิเช่น ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้น ซึ่งสวนทางกับนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางในหลายประเทศที่ได้เข้าสู่ช่วงคงอัตราดอกเบี้ยหรือเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยลงบ้างแล้ว
JP Inflation
Source: Statista
ในปี 2023 ประเทศญี่ปุ่นยังคงมีอัตราเงินเฟ้อที่สูงที่ระดับ 3.27%
ค่าเฉลี่ยอัตราเงินเฟ้อในปี 2019-2023 อยู่ที่ระดับ 1.20% ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้ โดยมีเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2.0%
ปัจจุบันในปี 2024 อัตราเงินเฟ้อของประเทศญี่ปุ่นอยู่ที่ระดับ 2.8% ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับเป้าหมาย 2.5%-3.0%
BoJ คาดการณ์เงินเฟ้อจะแตะระดับ 2.0% ในปี 2025 และ 2026
ซึ่งในรายงานการประชุมในเดือนมิถุนายน BoJ มีความเสี่ยงที่อาจจะต้องลดการเข้าซื้อพันธบัตร JGBs เพื่อรักษาเสถียรภาพทั้งการเงินและเศรษฐกิจ
Comments
ถึงแม้ว่าญี่ปุ่นจะเจอกับความท้าทายทางด้านเศรษฐกิจ และได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปีเพื่อสู้กับปัญหาเงินเฟ้อ แต่การปรับขึ้นดังกล่าวสอดคล้องกับการเติบโตทางเศษรฐกิจและถือเป็นเงินเฟ้อที่อยู่ในกรอบเป้าหมายที่มเสถียรภาพ โดยมีเป้าหมายยีลด์ที่เหมาะสมของพันธบัตรอายุ 10 ปีของญี่ปุ่นที่ระดับ 3.0% เพื่อให้สอดคล้องกับศักยภาพการเติบโต แต่เนื่องจากยีลด์ในปัจจุบันที่ระดับ 1.081% นั้น(ข้อมูล ณ วันที่ 10 กรกฎาคม 2024) ถือเป็นผลตอบแทนแท้จริงที่ติดลบ จึงทำให้ความเสี่ยงที่เงินทุนจะยังคงไหลออกจากพันธบัตรรัฐบาลเพื่อหาผลตอบแทนที่มากขึ้นยังคงอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยแรงกดดันดังกล่าวจะยังคงอยู่ที่ค่าเงินเยนที่ยังคงมีความเสี่ยงที่จะอยู่ในกรอบอ่อนค่าและตลาดทุนอาจเป็นตลาดทางเลือกที่เหมาะสมกว่าในการสร้างผลตอบแทน
Latest update 09/07/2024